1. ส่วนประกอบของเครือข่าย ( Network
Component )
เครือข่าย
ในชีวิตประจำวันของเรานั้นเกี่ยวข้องกับเครือข่ายตลอดเวลา
เพระทุกการติดต่อสื่อสารนั้นต้องผ่านระบบเครือข่ายมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น
โทรศัพท์ SMS ATM วิทยุ โทรทัศน์
ล้วนเป็นระบบเครือข่ายทั้งสิ้น โดยที่ Internet เป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ในที่นี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบของระบบเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วย
· เครื่องบริการข้อมูล
(Server)
· เครื่องลูกข่ายหรือสถานี
(Client)
· การ์ดเครือข่าย
(Network Interface Cards)
· สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย
(Network Cables)
· ฮับหรือสวิตช์
(Hubs and Switches)
· ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
(Network operating System)
เครื่องศูนย์บริการข้อมูล
โดยมักเรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการทรัพยากรให้กับเครื่องลูกข่าย เช่น
การบริการไฟล์ การบริการงานพิมพ์ เป็นต้น
เนื่องจากเครื่องเซฟเวอร์มักต้องรับภารกิจหนักในระบบจึงมักใช้เครื่องที่มีขีดความสามารถมาเป็นเครื่องแม่ข่าย
เครื่องลูกข่ายหรือสถานีเครือข่าย
เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย
ซึ่งอาจเรียกว่า เวิร์กสเตชัน ก็ได้
โดยมักเป็นเครื่องของผู้ใช้งานทั่วไปสำหรับติดต่อเพื่อขอใช้บริการจากเซิร์ฟเวอร์
ซึ่งสามารถจะขอหรือนำ software ทั้งข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายมาประมวลผลใช้งานได้และยังติดต่อสื่อสาร
รับ-ส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่ายได้
การ์ดเครือข่าย
แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีอุปกรณ์นี้ และหน้าทีของการ์ดก็คือ
แปลงสัญญาณของคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้
สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีสายเคเบิลเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่าง
ๆ ให้อยู่บนเครือข่ายเดียวกันเพื่อสื่อสารกันได้
นอกจากนี้เครือข่ายยังสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยไม่ใช้สายก็ได้ เรียกว่า
เครือข่ายไร้สายโดยสามารถใช้คลื่นวิทยุหรืออินฟาเรด เป็นตัวกลางในการปลงสัญญาณ
อีกทั้งยังสามารถนำเครือข่ายแบบมีสายและเครือข่ายแบบไร้สายมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันได้
ฮับและสวิตช์
เป็นอุปกรณ์ฮับและสวิตช์มักนำไปใช้เป็นศูนย์กลางของสายเคเบิลที่เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน
ซึ่งฮับหรือสวิตช์จะมีพอร์ตเพื่อให้สายเคเบิลเชื่อมต่อเข้าระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์
โดยจำนวนพอร์ตจะขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด เช่น แบบ 4 , 8, 16 , 24
พอร์ต ยังสามารถนำฮับหรือสวิตช์หลายๆตัว
มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อขยายเครือข่ายได้อีกด้วย
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
เครื่องแม่ข่ายของระบบจำเป็นต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่ายไว้
เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและรองรับการทำงานของเครือข่ายไว้
เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องพึ่ง Software ที่มีประสิทธิภาพตามด้วยเช่นกัน
รูปแบบของเครือข่าย
แบ่งเป็น 2
ประเภท ได้แก่
1. เครือข่ายแบบ Client/Server
2. เครือข่ายแบบ Peer To Peer
เครือข่ายแบบ Client/Server
เครือข่ายแบบ Client/Server
เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์
ไว้คอยบริการข้อมูลให้กับลูกเครือข่าย โดยมีฮับหรือสวิตซ์เป็นตัวกลาง
โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะถูกเชื่อมต่อกับฮับเพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อระห่างกันและสมารถขอใช้บริการ
web server , mail server , file server และ print server ได้
เครือข่ายประเภทนี้อาจมีเซฟเวอร์ตัวหนึ่งทำหน้าที่หลายๆหน้าที่บนเครื่องเดียวหรืออาจทำหน้าที่เฉพาะก็ได้
web server : บริการ
HTTP เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลทางภาพและเสียงผ่าน
web browser เช่น google เป็นต้น
mail server : เครือบริการรับส่งจดหมายสำหรับสมาชิก
บริการที่มีให้ใช้ เช่น ส่งจดหมาย รับจดหมาน หรือการมือ addressbook ตัวอย่าง
mail server ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ hotmaik
หรือ Thaimail เป็นต้น
file server : เซฟเวอร์ที่มีหน้าที่จัดเก็บไฟล์โยการจัดเก็บไฟล์นั้นเสมือนเป็นฮาร์ดดิสศูนย์รวม
เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลที่เดียว
สามรถดูแลรักษาข้อมูลได้ง่ายและป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล
ข้อมูลดังกล่าวสมารถแชร์ให้เครื่องอื่นได้
print server : เซฟเวอร์ที่มีหน้าที่ในการจัดการแบ่งปริ้นเตอร์ในสำนักงาน
จากเครื่องปริ้นเตอร์เครื่องเดียวให้ผู้อื่นสามรถสั่งปริ้นได้
หน้าที่หลักๆของปริ้นเซฟเวอร์คือ ช่วยในการแบ่งปัน
จัดคิวในการใช้เครื่องปริ้นร่วมกันในองค์กรได้
ข้อดี ข้อเสียของระบบ Client/Server
ข้อดี
1. เครือข่ายมีเสถียรภาพสูง
และสามารถเพิ่มลดได้ตามต้องกัน
2. มีความปลอดภัยสูงทั้งด้านข้อมูลและการจัดการ
user
ข้อเสีย
1. ต้องใช้ทุนในการลงทุนสูง
2. ต้องพึ่งพาผู้ควบคุมที่มีความรู้
มีความเชี่ยวชาญ
เครือข่าย Peer To Peer
เครือข่าย Peer To Peer
เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายมีฐานะเท่าเทียมกันโยที่ทุกเครื่องจะต่อสายเคเบิลเข้ากับฮับหรือสวิตซ์ทุกเครื่องสามารถใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้และสามารถให้เครื่องอื่นมาช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน
ระบบเครือข่ายประเภทนี้มักจะใช้งานในหน่วยงานขนาดเล็กหรือใช้คอมพิวเตอร์ไม่เกิน 10
เครื่อง
อาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในระบบเนื่องจากข้อมูลที่เป็นความลับะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นด้วยเช่นกัน
ข้อดี ข้อเสียของระบบ Peer To Peer
ข้อดี
1. ลงทุนต่ำ
2. ไม่ต้องดูแลผู้ดูแลระบบ
3.ติดตั้งง่าย
ข้อเสีย
1.มีขีดความสามารถจำกัด
2.มีระบบความปลอดภัยต่ำ
3. มีปัญหาเกี่ยวกับการขยายเครือข่าย
2. อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
2.1
รีพีตเตอร์ ( Repeater )
มัลติเพล็กซ์เซอร์ multiplexer
ในระบบ Lan โดยทั่วไปนั้น
ยิ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่ไกลกันมากเท่าไร
สัญญาณที่จะสื่อถึงกันเริ่มเพี้ยนและจะจางหายไปในที่สุดจึงต้องมีอุปกรณ์เสริมพิเศษที่เรียกว่า
รีพีตเตอร์ ขึ้นมาทำหน้าที่ในการเดินสัญญาณคือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย Lan
ให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพื้ยนให้กลับเป็นเหมือนเดิม
2.2
ฮับ ( Hub )
ฮับ (HUB)
ทำหน้าที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางที่กระจายข้อมูลช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่างๆบนเครือข่ายสามารถสื่อสารถึงกันได้
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับฮับโยสายเคเบิลแล้วส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จากเคราองหนึ่งไปยังอีกเครือหนึ่งโยงผ่านฮับ
ฮับไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูลและปลายทางของข้อมูลที่ส่งไปได้
ดังนั้นฮับจะส่งข้อมูลไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับทุกเครื่องรวมถึงเครื่องที่ส่งข้อมูลด้วย
ฮับไม่สามรถรับและส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกันจึงทำให้ฮับทำงานช้ากว่าสวิตซ์
การเชื่อมต่อแบบนี้ หากเชิร์ฟเวอร์ไม่ได้เปิดใช้งานอยู่
เครื่องลูกข่ายก็ไม่สามารใช้งานบริการได้
2.3
สวิตซ์ ( Switch )
สวิตซ์ switch หรือ
บริดจ์ bridge
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากฮับ ลักษณะทางกายภาพของเน็กเวิร์ดสวิตซ์นั้นจะเหมือนกับเน็ตเวิร์ดฮับทุกอย่าง
แตกต่างกันตรงที่
- สวิตส์จะเลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่านั้น
- สวิตส์มีความร็วสูง
- มีความปลอดภัยสูงกว่า
- สามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน
2.4
บริดจ์ ( Bridge )
เร้าเตอร์ wifi
เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่เชื่อม 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน
เสมือนเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่าง 2
เครือข่ายบริดจ์มีความสามารถมากกว่าฮับและรีพีตเตอร์ กล่าวคือ
สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งได้ โดยตรวจสอบว่า
- ตรวจสอบความสามารถของข้อมูล
- ส่งข้อมูลไปในเครื่องที่ต้องการเท่านั้น
- จัดการความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.5
เร้าเตอร์ ( Router )
wireless router
จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่อสารหากันได้และสามารส่งผ่านข้อมูลระหว่าง
2 เครือข่าย เช่น
เครือข่ายในบ้านกับอินเตอร์เน็ตโยที่แบบมีสายและไร้สาย
นอกจากนี้เร้าเตอร์ยังมีระบบรักษาความปลอดภัย คือ ไฟล์วอร์
2.6
เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์ ( gateway )
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2
ระบบมีความแตกต่างกัน คือ
- มีโปรโตคลอที่ต่างกัน
- มีขนาดเครือข่ายต่างกัน
- มีระบบเครือข่ายต่างกน
เช่นเครื่อง PC และ เครื่อง MAX ทำให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างกันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น