วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของเครือข่าย บทที่ 5

1. ส่วนประกอบของเครือข่าย ( Network Component )



เครือข่าย

                 ในชีวิตประจำวันของเรานั้นเกี่ยวข้องกับเครือข่ายตลอดเวลา เพระทุกการติดต่อสื่อสารนั้นต้องผ่านระบบเครือข่ายมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ SMS  ATM  วิทยุ โทรทัศน์ ล้วนเป็นระบบเครือข่ายทั้งสิ้น โดยที่ Internet เป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในที่นี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบของระบบเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วย
       · เครื่องบริการข้อมูล (Server)
       · เครื่องลูกข่ายหรือสถานี (Client)
       · การ์ดเครือข่าย (Network Interface Cards)
       · สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย (Network Cables)
       · ฮับหรือสวิตช์ (Hubs and Switches)
       · ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System)

เครื่องศูนย์บริการข้อมูล
โดยมักเรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการทรัพยากรให้กับเครื่องลูกข่าย เช่น การบริการไฟล์ การบริการงานพิมพ์ เป็นต้น เนื่องจากเครื่องเซฟเวอร์มักต้องรับภารกิจหนักในระบบจึงมักใช้เครื่องที่มีขีดความสามารถมาเป็นเครื่องแม่ข่าย

เครื่องลูกข่ายหรือสถานีเครือข่าย
เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งอาจเรียกว่า เวิร์กสเตชัน ก็ได้ โดยมักเป็นเครื่องของผู้ใช้งานทั่วไปสำหรับติดต่อเพื่อขอใช้บริการจากเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสามารถจะขอหรือนำ software ทั้งข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายมาประมวลผลใช้งานได้และยังติดต่อสื่อสาร รับ-ส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่ายได้

การ์ดเครือข่าย
แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีอุปกรณ์นี้ และหน้าทีของการ์ดก็คือ แปลงสัญญาณของคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีสายเคเบิลเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ให้อยู่บนเครือข่ายเดียวกันเพื่อสื่อสารกันได้  นอกจากนี้เครือข่ายยังสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยไม่ใช้สายก็ได้ เรียกว่า เครือข่ายไร้สายโดยสามารถใช้คลื่นวิทยุหรืออินฟาเรด เป็นตัวกลางในการปลงสัญญาณ อีกทั้งยังสามารถนำเครือข่ายแบบมีสายและเครือข่ายแบบไร้สายมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันได้

ฮับและสวิตช์
เป็นอุปกรณ์ฮับและสวิตช์มักนำไปใช้เป็นศูนย์กลางของสายเคเบิลที่เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งฮับหรือสวิตช์จะมีพอร์ตเพื่อให้สายเคเบิลเชื่อมต่อเข้าระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ โดยจำนวนพอร์ตจะขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด เช่น แบบ 4 , 8, 16 , 24 พอร์ต ยังสามารถนำฮับหรือสวิตช์หลายๆตัว มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อขยายเครือข่ายได้อีกด้วย

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
เครื่องแม่ข่ายของระบบจำเป็นต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่ายไว้ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและรองรับการทำงานของเครือข่ายไว้ เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องพึ่ง Software ที่มีประสิทธิภาพตามด้วยเช่นกัน

รูปแบบของเครือข่าย

แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. เครือข่ายแบบ Client/Server
2. เครือข่ายแบบ Peer To Peer
เครือข่ายแบบ Client/Server

เครือข่ายแบบ Client/Server

                   เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ไว้คอยบริการข้อมูลให้กับลูกเครือข่าย โดยมีฮับหรือสวิตซ์เป็นตัวกลาง โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะถูกเชื่อมต่อกับฮับเพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อระห่างกันและสมารถขอใช้บริการ web server , mail server , file server และ print server ได้ เครือข่ายประเภทนี้อาจมีเซฟเวอร์ตัวหนึ่งทำหน้าที่หลายๆหน้าที่บนเครื่องเดียวหรืออาจทำหน้าที่เฉพาะก็ได้
web server  : บริการ HTTP เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลทางภาพและเสียงผ่าน web browser เช่น google เป็นต้น
mail server : เครือบริการรับส่งจดหมายสำหรับสมาชิก บริการที่มีให้ใช้ เช่น ส่งจดหมาย รับจดหมาน หรือการมือ addressbook ตัวอย่าง mail server ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ hotmaik หรือ Thaimail เป็นต้น
 file server : เซฟเวอร์ที่มีหน้าที่จัดเก็บไฟล์โยการจัดเก็บไฟล์นั้นเสมือนเป็นฮาร์ดดิสศูนย์รวม เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลที่เดียว สามรถดูแลรักษาข้อมูลได้ง่ายและป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ข้อมูลดังกล่าวสมารถแชร์ให้เครื่องอื่นได้
print server : เซฟเวอร์ที่มีหน้าที่ในการจัดการแบ่งปริ้นเตอร์ในสำนักงาน จากเครื่องปริ้นเตอร์เครื่องเดียวให้ผู้อื่นสามรถสั่งปริ้นได้ หน้าที่หลักๆของปริ้นเซฟเวอร์คือ ช่วยในการแบ่งปัน จัดคิวในการใช้เครื่องปริ้นร่วมกันในองค์กรได้

ข้อดี ข้อเสียของระบบ Client/Server

ข้อดี
1. เครือข่ายมีเสถียรภาพสูง และสามารถเพิ่มลดได้ตามต้องกัน
2. มีความปลอดภัยสูงทั้งด้านข้อมูลและการจัดการ user
 ข้อเสีย
1. ต้องใช้ทุนในการลงทุนสูง
2. ต้องพึ่งพาผู้ควบคุมที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ

เครือข่าย Peer To Peer

เครือข่าย Peer To Peer

       เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายมีฐานะเท่าเทียมกันโยที่ทุกเครื่องจะต่อสายเคเบิลเข้ากับฮับหรือสวิตซ์ทุกเครื่องสามารถใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้และสามารถให้เครื่องอื่นมาช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบเครือข่ายประเภทนี้มักจะใช้งานในหน่วยงานขนาดเล็กหรือใช้คอมพิวเตอร์ไม่เกิน 10 เครื่อง อาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในระบบเนื่องจากข้อมูลที่เป็นความลับะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นด้วยเช่นกัน

ข้อดี ข้อเสียของระบบ Peer To Peer

ข้อดี
1. ลงทุนต่ำ
2. ไม่ต้องดูแลผู้ดูแลระบบ
3.ติดตั้งง่าย
 ข้อเสีย
1.มีขีดความสามารถจำกัด
2.มีระบบความปลอดภัยต่ำ
3. มีปัญหาเกี่ยวกับการขยายเครือข่าย


2. อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

       2.1 รีพีตเตอร์ ( Repeater )
มัลติเพล็กซ์เซอร์ multiplexer
       ในระบบ Lan โดยทั่วไปนั้น ยิ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่ไกลกันมากเท่าไร สัญญาณที่จะสื่อถึงกันเริ่มเพี้ยนและจะจางหายไปในที่สุดจึงต้องมีอุปกรณ์เสริมพิเศษที่เรียกว่า รีพีตเตอร์ ขึ้นมาทำหน้าที่ในการเดินสัญญาณคือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย Lan ให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพื้ยนให้กลับเป็นเหมือนเดิม

       2.2 ฮับ ( Hub )
ฮับ (HUB)
       ทำหน้าที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางที่กระจายข้อมูลช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่างๆบนเครือข่ายสามารถสื่อสารถึงกันได้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับฮับโยสายเคเบิลแล้วส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จากเคราองหนึ่งไปยังอีกเครือหนึ่งโยงผ่านฮับ ฮับไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูลและปลายทางของข้อมูลที่ส่งไปได้ ดังนั้นฮับจะส่งข้อมูลไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับทุกเครื่องรวมถึงเครื่องที่ส่งข้อมูลด้วย ฮับไม่สามรถรับและส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกันจึงทำให้ฮับทำงานช้ากว่าสวิตซ์ การเชื่อมต่อแบบนี้ หากเชิร์ฟเวอร์ไม่ได้เปิดใช้งานอยู่ เครื่องลูกข่ายก็ไม่สามารใช้งานบริการได้

       2.3 สวิตซ์ ( Switch )
สวิตซ์ switch หรือ บริดจ์ bridge
       อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากฮับ ลักษณะทางกายภาพของเน็กเวิร์ดสวิตซ์นั้นจะเหมือนกับเน็ตเวิร์ดฮับทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่
         - สวิตส์จะเลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่านั้น
         - สวิตส์มีความร็วสูง
         - มีความปลอดภัยสูงกว่า
         - สามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน

      2.4 บริดจ์ ( Bridge )
เร้าเตอร์ wifi
       เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่เชื่อม 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน เสมือนเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่าง 2 เครือข่ายบริดจ์มีความสามารถมากกว่าฮับและรีพีตเตอร์ กล่าวคือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งได้ โดยตรวจสอบว่า
         - ตรวจสอบความสามารถของข้อมูล
         - ส่งข้อมูลไปในเครื่องที่ต้องการเท่านั้น
         - จัดการความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       2.5 เร้าเตอร์ ( Router )
wireless router
       จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่อสารหากันได้และสามารส่งผ่านข้อมูลระหว่าง 2 เครือข่าย เช่น เครือข่ายในบ้านกับอินเตอร์เน็ตโยที่แบบมีสายและไร้สาย นอกจากนี้เร้าเตอร์ยังมีระบบรักษาความปลอดภัย คือ ไฟล์วอร์

       2.6 เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์ ( gateway )
       เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 ระบบมีความแตกต่างกัน คือ
         - มีโปรโตคลอที่ต่างกัน
         - มีขนาดเครือข่ายต่างกัน
         - มีระบบเครือข่ายต่างกน เช่นเครื่อง PC และ เครื่อง MAX ทำให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างกันได้



รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายและเครือข่ายท้องถิ่น บทที่ 4

การเชื่อมต่อเครือข่าย

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยี และโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน

การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด

เป็นการเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายเข้าด้วยกันแบบจุดต่อจุด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกๆ ตัว มีสายหรือสื่อส่งข้อมูลต่อเฉพาะระหว่างอุปกรณ์แต่ละตัว ทำให้มองดูเหมือนกับว่าระหว่างอุปกรณ์ 2 ตัวมีถนนที่ใช้เฉพาะ 2 อุปกรณ์นั้นๆ  ดังนั้นถ้าเรามีอุปกรณ์ n ตัว แต่ละตัวต้องมีช่องทางสื่อสาร (channel) เท่ากับ n- 1 ช่อง และมีช่องทางทั้งหมดในเครือข่ายเท่ากับ n(n-1)/2 ช่อง ดังแสดงในรูปภาพ

การเชื่อมต่อแบบหลายจุด
เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมาก การส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุดซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้ การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัฟเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัฟเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัฟเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่นส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูลโดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระบบสื่อสารได้ค่อน ข้างเต็มประสิทธิภาพ



 โทโพโลยีแบบบัส (Bus Topology) เป็นโทโพโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด ลักษณะการทำงานคือ อุปกรณ์
ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า”บัส” (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะ ส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด
หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะ ส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว
ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไป เรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่
ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป
010






 โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology)  เป็น การเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีกลาง หรือฮับ (Hub) เป็นจุดผ่าน การติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานี กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูล เข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่ นิยมใช้กันในปัจจุบัน
011

โทโพโลยีแบบวงแหวน  (Ring Topology)  เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่ง จากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบาง ระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไป ให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

012
โครงการหมายเลข 802 (Project 802)
         ในปี ค.ศ. 1985 ทางสถาบัน IEEE ได้ริเริ่มโครงการสำคัญโครงการหนึ่ง โดยตั้งชื่อโครงการนี้ว่า โครงการหมายเลข 802 หรือ Project 802 โดยโครงการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อต้องการให้ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สื่อสารที่มาจากแหล่งผู้ผลิตต่าง ๆ สามารถสื่อสารให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน แต่โครงการนี้มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ทดแทนมาตรฐาน OSI โมเดลที่ทางหน่วยงาน ISO จัดตั้งขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากโครงการหมายเลข 802 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหน้าที่และรายละเอียดของชั้นสื่อสารฟิสิคัล ดาต้าลิงก์ และมีส่วนขยายเพิ่มเติมบางส่วนอีกเล็กน้อย ที่นำมาใช้งานเพื่อการเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่นเป็นหลักสำคัญ


ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่างๆ มากมาย
อินเตอร์เน็ต  (Internet)
อินเตอร์เน็ตนั้นย่อมาจากคำว่า  “International network”  หรือ  “Inter Connection  network”  ซึ่งหมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก





ไอบีเอ็มโทเค็นริง (IBM Token Ring)

โปรโตคอล CSMA/CD ที่ใช้งานบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต เป็นกลไกการส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโอกาสเกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลสูงเมื่อการจราจรบนเครือข่ายหนาแน่น ในขณะเดียวกันโปรโตคอล Token Passing ที่ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการชนกันของกลุ่มข้มูลเลย

กลไกการทำงานของ Token Passing ก็คือ ในช่วงเลาหนึ่งจะมีเพียงโหนดเดียวที่สามารถส่งข้อมูลในขณะนั้นได้ นั่นก็คือโหนดที่ครอบครองโทเค็น โดยโทเค็นจะไปพร้อมกับข้อมูลที่ส่งไปยังโหนดภายในวงแหวน หากโหนดใดได้รับข้อมูลพร้อมรหัสโทเค็นแล้วตรวจสอบพบว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ส่งมายังตน ก็จะส่งทอดไปยังโหนดถัดไปภายในวงแหวนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงโหนดปลายทางที่ต้องการ เมื่อครบรอบวงแล้วรหัสโทเค็นก็จะเข้าสู่สภาวะว่างอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการส่งทอดรหัสว่างไปตามวงแหวนผ่านโหนดต่าง ๆ เป้นวงรอบและพร้อมที่จะให้โหนดอื่น ๆ ครอบครองโทเค็นเพื่อการส่งข้อมูลในรอบต่อไป

สำหรับสายเคเบิ้ลที่ใช้งานบนเครือข่ายไอบีเอ็มโทเค็นริง สามารถใช้สายแบบเอสทีพีหรือยูทีพีก็ได้ พร้อมหัวปลั๊กเชื่อมต่ชนิด IBM-Type1

เอฟดีดีไอ (FDDI)

เอฟดีดีไอ หรือเรียกอีกชื่อเต็มว่า Fiber Distributed Data Interface:FDDI คือ หน่วยงาน ANSI ได้ทำการกำหนดโปรโตรคลอที่ใช้งานบนเครือข่ายท้องถิ่น โดยมีการควบคุมแบบโทเค็ริง ด้วยการส่งข้อมูลที่มีความเร็วถึง 100 เมกะบิตต่อวินาทีบนสายเคเบิลใยแก้วนำแสง กลไกการส่งข้อมูลบนเครือข่ายเอฟดีดีไอจะใช้ Token Passing เช่นเดียวกับไอบีเอ็มโทเค็นริง แต่เอฟดีดีไอ(FDDI) จะทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่า ประกอบกับเครือข่ายเอฟดีดีไอยังสามารถที่จะออกแบบเพื่อรอบรับในความเสียหาของระบบได้ดี ด้วยการเพิ่มวงแหวนในระบบเครือข่ายอีก รวมเป็น 2 วงแหวนด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยวงแหวนปฐมภูมิและวงแหวนทุติยภูมิวงแหวนปฐมภูมิ(Primary Ring) คือ วงแหวนหลักด้านนอกซึ่งใช้เป็นสายส่งข้อมูลหลักภายในระบบเครือข่าย โดยรหัสโทเค็นจะวิ่งวนรอบวงแหวนทิศทางใดก็ทิศทางหนึ่งวงแหวนทุติยภูมิ(Secondary Ring) คือวงแหวนสำรองที่อยู่ด้านในสุด โทเค็นที่อยู่ในวงแหวนด้านในจะวิ่งในทิศทางตรงกันข้ามกับวงแหวนด้านนอก โดยวงแหวนทุติยภูมิจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อวงแหวนปฐมภูมิเกิดปัญหาเท่านั้น เช่น สายเคเบิลที่วงแหวนในปฐมภูมิเกิดการขาด และเมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น วงจรภายในวงแหวนทุติยภูมิก็จะเริ่มทำงานทันทีด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับวงแหวนปฐมภูมิ ทำให้สามารถประคับประคองระบบให้ยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ โดยเทเค็นเองก็ยังคงสามารถวิ่งภายในรอบวงแหวนได้เช่นเดิม ทำให้เครือข่ายสามารถดำเนินการต่อได้ตามปกติ